วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การบังคับบัญชาข้าราชการครู

1. การบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอำนาจและ หน้าที่ บริหารกิจการสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(งานบริหารบุคลากร)
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
มาตรา ๒๗ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา และมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด
(๒) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(๕) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย

มาตรา ๒๘ ให้ ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด เป็นผู้บังคับบัญชาและบริหารหน่วยงาน และให้นำมาตรา ๒๗ มาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยอนุโลม
==========================================
มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา

==========================================

มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน


==========================================
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มตามศักยภาพ

มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

==========================================
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ

==========================================
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร

==========================================
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ

==========================================
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

==========================================
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์

==========================================
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
==========================================

มาตาฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ

==========================================
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
=================

ที่มา : คัดจากมาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือมาตรฐานวิชาชีพการศึกษา คุรุสภ

การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

11. การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

สรุป
การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการปฎิบัติงานที่ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานกำหนดให้มีขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ว่าจะดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์
จุดประสงค์
1. มุ่งให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของการดำเนินงาน
2. รายงานทางการเงิน
3. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
องค์ประกอบ
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม Control Environment
2. การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment
3. กิจกรรมการควบคุม Control Activities
4. สารสนเทศและการสื่อสาร Information and Communication
5. การติดตามผล Monitoring
แบบรายงาน
1. แบบ ปอ.1 รายงานความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมภายในของหัวหน้าหน่วยงาน
2. แบบ ปอ. 2 สรุปผลการประเมินองค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายใน
3. แบบ ปอ.3 แผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
4. แบบติดตาม-ปอ.3 รายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของงวดก่อน
5. แบบ ปส. รายงานผลการสอบทานการประเมินการควบคุมภายในโดย
ผู้ตรวจสอบภายใน
การประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (CSA) Control Self-Assessment
ปย.1 - ปย.2 - ปอ.2 - ปอ.3 - ปอ.1
ย่อย เมิน เพิ่ม ปรับ รับรอง
1. ประเมิน 5 องค์ประกอบ ลงในแบบ ปย.1
2. ประเมิน กระบวนการปฏิบัติในแบบ ปย.2
3. ประมวล ปย.1 +เพิ่มเติม ลงใน ปอ.2
4. สรุปวิเคราะห์ ปย.2 ปรับปรุงลงในแบบ ปอ.3
5. จัดทำหนังสือรับรองประเมินการควบคุมภายใน ลงในปอ.1 รายงาน เขตและสตง.โดยตรง ภายใน 90 วัน หลังวันสิ้นปีงบประมาณ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พ.ร.บ.คอมฯ แก้ปัญหา-ละเมิดสิทธิ เบรก3

ติวโอเน็ต ม.3 25-27 กุมภาพันธ์ 2555

กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ติวโอเน็ตให้กับนักเรียน ม.3

หลักสูตรการสอบผู้บริหารสถานศึกษา 2555


การสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้ดำเนินการประเมินความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ สมรรถนะทางการบริหาร ประเมินประวัติและผลงาน โดยให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการแล้วแต่กรณี ดำเนินการดังนี้
1. สอบข้อเขียน แบบปรนัย ประเมินกลุ่มทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 100 ) และกลุ่มประสบการณ์ (คะแนนเต็ม 200 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 60 )
1.1 ความรู้ทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน( 50 คะแนน)
1. นโยบายรัฐบาล แผนการบริหาราชการแผ่นและวาระแห่งชาติ
2. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
3. การบริหารยุคใหม่ การบริหารการเปลี่ยนแปลงและทฤษฏีทางการบริหาร
4. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
7. กฎหมายว่าด้วย สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
8. กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9. กฎหมายว่าด้วยระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
10. กฎหมายว่าด้วย ข้อมูลข่าวสารทางราชการ
11. กฎหมายว่าด้วย การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
12. กฎหมายว่าด้วย คุ้มครองเด็ก
13. กฎหมายว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
14. กฎหมายว่าด้วย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนราชการนั้นกำหนด (ให้ระบุไว้ในประกาศรับสมัครด้วย)
1.2 ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (100 คะแนน)
ให้เน้นการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจในการบริหารงานในหน้าที่ต่อไปนี้
1. การบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอำนาจและหน้าที่ บริหารกิจการสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2. การวางแผนการศึกษา ประเมิน และจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา
3. การจัดทำและพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผล ประเมินผล
4. การส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
5. การจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา
___________________________________________________________________________
6. การบริหารงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน
7. การบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์
8. การจัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9. การส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

10. การประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน
11. การจัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
12. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษา
1.3 สมรรถนะทางการบริหาร (50 คะแนน)1.การบริหามุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การบริการที่ดี
3. การพัฒนาตนเอง
4. การทำงานเป็นทีม
5. การวิเคราะห์และสังเคราะห์
6. การสื่อสารและการจูงใจ
7. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
8. การมีวิสัยทัศน์
9. ภาวะผู้นำ
2. ประวัติและผลงาน ประสบการณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 40 )ให้ประเมินประวัติและผลงาน เฉพาะกลุ่มประสบการณ์ โดยให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการกำหนดตัวชี้วัดและคะแนนแต่ละองค์ประกอบการประเมิน
ทั้งนี้ให้ประกาศตัวชี้วัดและคะแนนแต่ละองค์ประกอบการประเมินพร้อมกับการประกาศรับสมัคร

ที่มา http://203.146.15.33/webtcs/