วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566
มงคลที่ 5 มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม(ปฎิรูปเทสวาโส จ)
💙ต้นโพธิ์ ต้นไทร หากปลูกไว้ในกระถาง💙
มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา(ปูชา จ ปูชนียานํ)
ต้นไม้เมื่อยังเล็กเป็นต้นกล้าอยู่
จำเป็นต้องมีหลักค้ำประคองไว้
ป้องกันไม่ให้ล้มรากชาดตายเสียก่อนฉันใด
ผู้ที่หวังความเจริญก้าวหน้า ก็จำเป็นต้องบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ไว้เป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
เป็นหลักใจ ป้องความเห็นผิดและอกุศลกรรมต่าง ๆ
มิให้ย้อนกลับกำเริบขึ้นมาอีกฉันนั้น
**********************
การบูชาคือ การเลื่อมใส ยกย่องเชิดชู ด้วยกิริยาอาการสุภาพที่เราแสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าลับหลัง
***********************
การบูชา เป็นการฝึกใจที่หยาบกระด้าง เพราะไม่อาจยอมรับคุณความดีของผู้อื่น ให้ละเอียดอ่อนลง
************************
🥳บุคคลที่ควรบูชา
ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา
1.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.พระสงฆ์
3.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
4.บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ที่ประพฤติดี
5.ครูอาจารย์ มีความรู้ ประพฤติดี
6.ผู้บังคับบัญชา ประพฤติดี
**************************
😉บัณฑิตที่มีเพศภาวะสูงเกินกว่าจะคบในฐานะผู้เสมอกันได้ล้วนเป็นบุคคลที่ควรบูชา
สิ่งที่เนื่องด้วยท่านเหล่านี้ควรบูชา
1.พระธรรมคำสั่งสอน
2.พระธาตุ รูปพระสงฆ์สาวก
3.คำสั่งสอน บิดา มารดา ครูอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา พระมหากษัตริย์ ที่ตั้งใจประพฤติธรรม
**************************
😃การแสดงออกถึงความบูชา
1.ทางกาย
2.ทางวาจา
3.ทางใจ
**************************
ประเภทของการบูชา
1.อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ
2.ปฎิบัติบูชา บูชาด้วยความตั้งใจ
**************************
ข้อเตือนใจ
พึงระลึกเสมอว่า สิ่งที่เราเรียนรู้นั้น ถ้าเราเทิดทูนบูชา ตั้งใจประคองรักษาอย่างดี ไม่นำไปล้อเลียน ผลของการเล่าเรียนปฎิบัติธรรม ย่อมเจริญก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ
**************************
ข้อควรระวัง
อย่าบูชาสิ่งที่ไม่ควรบูชา เพราะจะชักนำไปสู่ความงมงาย จิตใจขุ่นมัว
1.คนพาล
2.สิ่งต่อเนื่องด้วยคนพาล
3.ไม่ทำให้เกิดสิรืมงคล
4.งมงายไม่เกิดปัญญา
***************************
กราบ 3 อย่าง
1.ยิ่งกราบยิ่งเมื่อย ทำลวกๆ
2.ยิ่งกราบยิ่งโง ขอในสิ่งไม่ควรขอ
3.ยิ่งกราบยิ่งฉลาด ยึดพระธรรมปฎิบัติตามคือ
1.ระลึกพระปัญญาคุณ
2.ระลึกพระบริสุทธิคุณ
3.ระลึกพระมหากรุณาธิคุณ
****************************
อานิสงฆ์การบูชา
1.เห็นถูกให้เกิดขึ้น
2.เห็นถูกให้เจริญงอกงาม
3.สุภาพอ่อนโยน น่านับถือ
4.จิตใจผ่องใส
5.สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ขึ้น
6.ป้องกันลืมตนหลงผิด
7.เกิดกำลังใจ
8.กำจัดคนพาล
9.เชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่น
มงคลที่ 2 คบบัณฑิต
มงคลที่ 2คบบัณฑิต (ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา)
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566
มงคลชีวิต 38 ประการ
มงคลชีวิต 38 ประการ
*************************
มงคลคือ ทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ให้ความหมายว่า มงคลคือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญคำว่า มงคลคือ เหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นข้อควรปฎิบัติ มี 38 ประการความเจริญก้าวหน้าแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ1.ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ - เป็นเด็กประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน - เตฺิบโตตั้งฐานะได้มีทรัพย์มาก -มีชื่อเสียง ตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี 2.ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า - เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดีเมื่อละจาดโลกนี้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์3.การบรรลุมรรคผลนิพพาน - ความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุด
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
มงคล คือเหตุแห่งความสุข
ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ เพื่อทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี
"มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่
มงคลหมู่ที่ ๑ ฝึกให้เป็นคนดี
๑. ไม่คบคนพาล
๒. คบบัญฑิต(ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา)
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา(ปูชา จ ปูชนียานํ)
มงคลหมู่ที่ ๒ สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
๔. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม(ปฎิรูปเทสวาโส จ)
๕. มีบุญวาสนามาก่อน(ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา)
๖. ตั้งตนชอบ(อตฺตสมฺมาปณิธิ จ)
มงคลหมู่ที่ ๓ ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
๗. เป็นพหูสูต(พาหุสจฺจญฺจ)
๘. มีศิลปะ(สิปฺปญฺจ)
๙. มีวินัย(วินโย จ สุสิกฺขิโต)
๑๐.มีวาจาสุภาษิต(สุภาสิตา จ ยา วาจา)
มงคลหมู่ที่ ๔ บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
๑๑.บำรุงบิดามารดา(มาตาปิตุอุปฏฐานํ)
๑๒.เลี้ยงดูบุตร(ปุตฺตสงฺโห)
๑๓.สงเคราะห์ภรรยา(สามี)(ทารสฺส สงฺคโท)
๑๔.ทำงานไม่คั่งค้าง(อนาุลา จ กมฺมนฺตา)
มงคลหมู่ที่ ๕ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
๑๕.บำเพ็ญทาน(ทานญฺจ)
๑๖.ประพฤติธรรม(ธมฺมจริยา จ)
๑๗.สงเคราะห์ญาติ(ญาตกานญฺจ สงฺคโห)
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ(อนวชฺชานิ กมฺมานี)
มงคลหมู่ที่ ๖ ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม
๑๙.งดเว้นจากบาป(อารตี วิรตี ปาปา)
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา(มชฺชปานา จ สญฺญโม)
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย(อปฺปมาโท จ ธมุเมสุ)
มงคลหมู่ที่ ๗ การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว
๒๒.มีความเคารพ(คารโว จ)
๒๓.มีความถ่อมตน(นิวาโต จ)
๒๔.มีความสันโดษ(สนฺตุฎฐี จ)
๒๕.มีความกตัญญู(กตญฺญตา)
๒๖.การฟังธรรมตามกาล(กาเลน ธมฺมสุสวนํ)
มงคลหมู่ที่ ๘ การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่
๒๗.มีความอดทน(ชนุตี จ)
๒๘.เป็นคนว่าง่าย(โสวจสฺสตา)
๒๙.เห็นสมณะ(สมณานญฺจ ทสฺสนํ)
๓๐.สนทนาธรรมตามกาล(กาเลน ธมฺสากจฺฉา)
มงคลหมู่ที่ ๙ การฝึกภาคปฎิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป
๓๑.บำเพ็ญตบะ(ตโป จ)
๓๒.ประพฤติพรหมจรรย์(พฺรหฺมจริยญฺจ)
๓๓.เห็นอริยสัจ(อริยสจูจาน ทสฺสนํ)
๓๔.ทำนิพพานให้แจ้ง(นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ)
มงคลหมู่ที่ ๑๐ ผลจากการปฎิบัติจนหมดกิเลส
๓๕.จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม(ผุฎฐสฺส โลกธมฺเมทิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ)
๓๖.จิตไม่โศก(อโสกํ)
๓๗.จิตปราศธุลี(วิรชํ)
๓๘.จิตเกษม(เขมํ)