วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

มงคลที่ 10 มีวาจาสุภาษิต

 มงคลที่ 10 มีวาจาสุภาษิต

ปลามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ก็เพราะอาศัยปากเป็นสิ่งสำคัญ

แต่ก็เพราะปากนั่นเอว ปลาจึงต้องติดเบ็ดเสียชีวิตโดยง่ายเช่นกัน

วาจาสุภาษิตจากปาก

จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จ

ได้รับความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่ก็เพราะวาจาสุภาษิตจากปากเพียงคำเดียว

บางครั้งแม้แต่ชีวิตก็ยากจะรักษาไว้ได้

**********************

วาจาสุภาษิตคืออะไร

เป็นคำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วด้วยใจที่ผ่องใส

ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟัง

องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต

1.ต้องเป็นคำจริง

2.ต้องเป็นคำสุภาพ

3.พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์

4.พูดด้วยจิตเมตตา

5.พูดถูกกาลเทศะ

- พูดถูกเวลา

- พูดถูกสถานที่

คนฉลาดไม่ใช่เป็นแค่พูดเท่านั้น ต้องนั่งเป็นด้วย คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยอ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด

**********************

ลักษณะของทูตที่ดี

1.ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่ด่วนปฎิเสธ

2.เมื่อถึงคราวพูดสามารถทำให้ผู้อื่นฟัง

3.รู้จักกำหนดขอบเขตการพูด

4.จำเนื้อความทั้งหมดที่พูด

5.เข้าใจเนื้อความทั้งหมดโดยละเอียด

6.ทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามได้

7.ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์

8.ไม่พูดชวนให้เกิดการทะเลาะวิวาท

ผู้ใดเข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบคาย ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาร พูดจนหมดความสงสัย และเมื่อถูกถามก็ไม่โกรธ ผู้นั้นย่อมควรทำหน้าที่ฑูต

**********************

โทษของการด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์

            ผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ คือพระสงฆ์และผู้ปฏิบัติธรรม ติเตียนพระอริยเจ้า จะประสบความฉิบหาย ๑๑ ประการ ต่อไปนี้

            ๑.        ไม่บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ

            ๒.        เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว

            ๓.        สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว

            ๔.        เป็นผู้หลงเข้าใจว่าได้บรรลุสัทธรรม

            ๕.        เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

            ๖.        ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง

            ๗.        บอกลาสิกขา  คือสึกไปเป็นฆราวาส

            ๘.        เป็นโรคอย่างหนัก

            ๙.        ย่อมถึงความเป็นบ้า  คือความฟุ้งซ่านแห่งจิต

            ๑๐.      เป็นผู้หลงทำกาละ คือตายอย่างขาดสติ

            ๑๑.      เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต  นรก

 **********************

ถ้อยคำที่ไม่ควรเชื่อถือ

            ๑.        คำกล่าวพรรณนาคุณ ศรัทธา ของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา

            ๒.        คำกล่าวพรรณนาคุณ ศีล ของบุคคลผู้ทุศีล

            ๓.        คำกล่าวพรรณนาคุณ พาหุสัจจะ ของบุคคลผู้ไม่สดับ

            ๔.        คำกล่าวพรรณนาคุณ จาคะ ของบุคคลผู้ตระหนี่

            ๕.        คำกล่าวพรรณนาคุณ ปัญญา ของบุคคลผู้โง่

            ทั้ง ๕ ประการ  จัดเป็นคำซึ่งไม่ควรฟัง ไม่ควรเชื่อถือ

**********************

ลักษณะเสียงที่สมบูรณ์ของมหาบุรุษ

            คนที่มีวาจาสุภาษิตมาข้ามภพข้ามชาติ จะมีลักษณะเสียงที่สมบูรณ์ของมหาบุรุษ  ซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ

            ๑.        แจ่มใส ไม่แหบเครือ

            ๒.        ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ติดขัด

            ๓.        ไพเราะ อ่อนหวาน

            ๔.        เสนาะโสต

            ๕.        กลมกล่อม      

           ๖.         ไม่แตก ไม่พร่า

            ๗.        ซึ้ง

            ๘.        มีกังวาน

**********************

อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต

            ๑.        เป็นคนมีเสน่ห์  เป็นที่รักของชนทุกชั้น

            ๒.        มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม

            ๓.        มีวาจาสิทธิ์  ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา

            ๔.        ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม

            ๕.        ไม่ตกไปในอบายภูมิ

                                                      

             “วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยสำเนียงภาษาอย่างไรก็ตาม วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง  ควรแก่การสรรเสริญของบัณฑิต  ตรงกันข้าม วาจาทุพภาษิต  แม้จะพูดด้วยภาษาใดสำเนียงดีแค่ไหน  บัณฑิตก็ไม่สรรเสริญ”

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

มงคลที่ 9 มีวินัย

 มงคลที่ 9 มีวินัย 

*******************
ดาบคมที่ไร้ฝักลูกระเบิดที่ไม่มีสลักนิรภัย
ย่อมเกิดโทษแก่เจ้าของได้ง่ายฉันใด
ความรู้และความสามารถ 
ถ้าไม่มีวินัยกำกับแล้วก็จะมีโทษแก่ผู้เป็นเจ้าของได้ฉันนั้น
ช่างดาบทำฝักดาบไว้กันอันตราย
ช่างทำระเบิดก็ทำสลัดนิรภัยไว้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพุทธศาสนิกชนให้เป็นคนฉลาด
รู้ฉลาดทำแล้วจึงทรงสำทับด้วยว่าต้องมีวินัย
*******************

วินัยคืออะไร 

วินัยหมายถึงระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับสำหรับควบคุมความประพฤติทางกายวาจาของคนในสังคม
ให้เรียบร้อยดีงามเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขไม่กระทบกระทั่งกัน 
วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคนให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควรคือทำให้คนฉลาดใช้นั่นเอง
*******************

ชนิดของวินัย 

คนเรามีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือร่างกายและจิตใจ
ร่างกายของเราขึ้นอยู่กับระบบโลกต้องพึ่งโรคร่างกายจึงจะเจริญ 
จิตใจของเราขึ้นอยู่กับระบบธรรมต้องพึ่งทำจิตใจจริงจะเจริญ 
เพื่อให้ร่างกายและจิตใจเจริญทั้ง 2 ทางจึงต้องดำเนินชีวิตสอดคล้องสองด้าน
ผู้ที่ฉลาดรู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้ที่ฉลาดทำก็จะต้องทำให้เป็นถูกต้องทั้งทางโลกและทางธรรม 
ผู้ฉลาดใช้จึงต้องมีวินัยทางโลกและวินัยทางธรรมคอยกำกับความรู้และความสามารถไว้
*******************

วินัยทางโลก

 ควบคุมคนในสังคมแต่ละแห่ง เป็นข้อตกลงของคนสังคมนั้นที่จะทำให้หรือไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่าง เช่นกฎหมายพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาข้อบังคับระเบียบธรรมเนียมประเพณีคำสั่งประกาศกติกา
*******************

วินัยทางธรรม 

มี 2 ประเภท
 1 อานาคาริยะ วินัย วินัยสำหรับผู้ออกบวช 
2 อาคาริยะวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน
*******************

อนาคาริยวินัย

จุดมุ่งหมายสูงสุดของนักบวชคือการหมดกิเลส
 ความหมดกิเลสผู้จะหมดกิเลสได้ต้องมีปัญญาอย่างยิ่ง
1.ปาฎิโมกขสังวร สำรวมอยู่ในศีล 227 ข้อ
2.อินทรียสังวร การรู้จักสำรวม ตาหู จมูก ฯลฯ
3.อาชีวปาริสุทธิ การหาเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ
4.ปัจจยปัจจเวกขณะ การพิจารณาก่อนจะบริโภคหรือใช้

*******************

วัตถุประสงค์ทรงบัญญัติวินัย

1.รองรับความตั้งอยู่ดีของหมู่สงฆ์
2.ข่มบุคคลผู้เก้อยาก
3.ความสุขสำราญแห่งหมู่สงฆ์
4.ความสุขสำราญแห่งพระภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
5.ป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
6.ป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในอนาคต
7.ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลืีอมใส
8.ความเลื่อมใสของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
9.ดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
10.อนุเคราะห์พระวินัย

*******************

อาคาริยวินัย

วินัยสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนที่สำคัญคือศีล 5
*******************

ศีลคืออะไร

ศีลคือปกติ เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้น เป็นเครื่องจำแนกคนออกจากสัตว์
ทุกอย่างจะต้องมีลักษณะที่ปกติของมัน
*******************

อะไรคือปกติของคน

ปกติของคนมี 5 อย่าง
1.คนจะต้องไม่ฆ่า
2.คนจะต้องไม่ลัก ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ยักยอกคดโกง
3.คนจะต้องไม่ประพฤติผิดในกาม
4.คนจะต้องไม่พูดเท็จ
5.คนจะต้องไม่เสพของมึนเมาให้โทษ
*******************

วิธีรักษาศีลตลอดชีพ

ศีลแปลว่าปกติ คนผิดศีลคือคนผิกปกติ
วิธีปลุกพระ ทุก ๆวันก่อนออกจากบ้านให้ตั้งใจกล่าวสมาทานรักษาศีล 5 
ปาณาติปาตา เวรมณี                    
อทินนาทานา  เวรมณี
กาเมสุมิจฉาจารา  เวรมณี
มุสาวาทา  เวรมณี
สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี
ในทางการแพทย์มีโรค 2 ประเภท
1.โรคประจำสังขาร    โรคชรา โรคเกิดจากเชื้อโรค
2.โรคที่เกิดขึ้นจากการประพฤติผิด  โรคเกิดจากการขาดศีล

ขาดศีลข้อ 1      ทำให้อายุสั้น เช่นถูกฆ่า
ขาดศีลข้อ 2      ทำให้เกิดโรคประสาท       
ขาดศีลข้อ  3    ทำให้เกิดโรคกามโรค เอดส์
ขาดศีลข้อ  4    โรคความจำเสื่อม
ขาดศีลข้อ  5    โรคพิษสุราเรื้อรัง
*******************
อานิสสงฆ์ของศีล
1.เป็นทางแห่งโภคทรัพย์
2.ชีวิตมีความสุข
3.เชือถือได้
4.กล้าหาญ
5.ตายแล้วไปเกิดสวรรค์
*******************
ประโยชน์ของวินัย
1.วินัยนำไปดี
2.วินัยนำไปแจ้ง
3.วินัยนำไปต่าง
ผู้มีวินัยดี เป็นผู้รักษาวินัยทั้งทางโลกและทางธรรรมอย่างถูกต้องและเคร่งครัด
*******************




วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

มงคลที่ 7 เป็นพหูสูต

 มงคลที่ 7 เป็นพหูสูต

แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไกลฉันใด
ความเป็นพหูสูต
ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการบุกเบิก
สร้างความเจริญให้แกชีวิตฉันนั้น.
********************
พหูสูต ผู้ที่มีความรอบรู้ ฉลาดรู้ เลือกในสิ่งควรรู้ เล่าเรียนมามาก อ่านมาก เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้มีความรู้ในการดำเนินชีวิต เป็นกุญแจนำไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่ปรารถนา
********************
ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับพหูสูตร
บัณฑิต คือ ผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจมีความประพฤติดีงาม
พหูสูต คือ ผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติ ยังไม่แน่ใจว่าจะดี
********************
ลักษณะความรู้ที่สมบูรณ์ของพหูสูต
1.รู้ลึก รู้เรื่องราวสาวไปถึงในอดีตได้ลึกซึ้งถึงความเป็นมา
2.รู้รอบ ช่างสังเกต รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟัาอากาศ ผู้คนในชุมชน
3.รู้กว้าง สิ่งรอบตัวแต่ละอย่างที่รู้ รู้อย่างละเอียด รู้ถึงความเกี่ยวพันธ์ของสิ่งนั้น ๆ
4.รู้ไกล มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต
********************
คุณสมบัติของพหูสูตหรือนักศึกษาที่ดี
1.พหุสสุตา อ่านมาก ฟังมาก มีนิสัยชองฟัง ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ยึดหลัก
"เรียนจากครู ดูจากตำรา สดับปาฐะ
2.ธตา จำได้แม่นยำ มีความจำดี รู้จักจับสาระสำคัญ จับหลักได้
3.วจสา ปริจิตา ท่องได้คล่องปาก ฝึกท่องให้คล่องปากท่งให้จำขึ้นใจ
4.มนสานุเปกขิตา ขึ้นใจใส่ใจนึกคิดตรึกตรอง
5.ทิฎฐิยา สุปฎิวิทธา แทงตลอดด้วยปัญญา เข้าใจแจ่มแจ้ง
********************
ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้ดี
1.คนราคจริต
2.คนโทสจริต
3.คนโมหจริต
4.คนขี้ขลาด
5.คนหนักในอามิส
6.คนจับจด
7.นักเลงสุรา
8.คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก สนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ขาดความรับผิดชอบ
********************
วิธีฝึกตนให้เป็นพหูสูต
1.ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
2.ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกแล้วอย่างเจ็มความสามารถ
3.มีความกระตืดรือร้นที่จะศึกษาค้นคว้า
4.ต้องหาความรู้ทางธรรมควบคุมไปกับความรู้ทางโลก
5.เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมนำไปปฎิบัติ
********************
ข้อเตือนใจ
มีความรู้ทางโลกอย่างเดียว ฉลาดอย่างไรก็มีโอกาสพลาดพลั้งได้
ความรู้ที่เกิดแก่คนพลาด ย่อในำความฉิบหายมาให้เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด
********************
อานิสงฆ์การเป็นพหูสูต
1.ทำให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
2.ทำให้ได้ความเป็นผู้นำ
3.ทำให้แกล้วกล้าองอาจ
4.ทำให้บริบูรณ์ด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สูข
5.ทำให้ได้รับความชมเชย ยกย่องเกรงใจ
6.เป็นชาติปัญญา ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ
7.เป็นพื้นฐานของศิลปะ
8.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

มงคลที่8 มีศิลปะ

 มงคลที่8 มีศิลปะ(สิปฺปญฺจ)

เราปลูกมะม่วง จะอิ่มจะรวยอยู่ที่ผลของมัน
ช่วงแรกที่ปลูก มีลำต้นกิ่งใบ
เป็นเพียงระยะเตรียมตัวเพื่อที่จะได้ผล
เช่นเดียวกัน ความรู้ทุกอย่างหรือความเป็นพหูสูตที่เรามีอยู่
เป็นเพียงการเตรียมตัวเท่านั้น
จะช่วยเราได้จริงต่อเมื่อเรามีศิลปะ
สามารถนำความรู้ที่มีออกมาใช้ได้อย่างดีเท่านั้น
*********************************
ศิลปะ แปลว่า การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามน่าพึงชม ฉลาดทำ
พหูสูต เป็นผู้ฉลาดรู้ในหลักวิชา รู้อะไร ทำอย่างไร
ศิลปะ เป็นความสามารถในทางปฎิบัติ นำความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดผล
*********************************
ประเภทของศิลปะ
ทางกาย คือการฉลาดทำการช่างต่าง ๆ เช่นช่างทอ ช่างวาดฯลฯ
ทางวาจา คือฉลาดในการพูด มีวาทศิลป์ รู้จักเลือกพูดแต่สิ่งที่ดี
ทางใจคือ ฉลาดในการคิด มีสติสัมปชัญญะ คิดในทางที่ดีสร้างสรรค์
*********************************
องค์ประกอบศิลปะ
สิ่งที่ทำแล้วจัดว่าเป็นศิลปะต้องประกอบด้วยองค์ 6ดังนี้
1.ทำด้วยความประณีต
2.ทำให้สิ่งต่าง ๆมีคุณค่าสูงขึ้น
3.ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
4.ทำแล้วไม่ทำให้กามกำเริบ
5.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดพยาบาทกำเริบ
6.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดเบียดเบียนกำเริบ
*********************************
คุณสมบัติของผู้สามารถมีศิลปะ
1.ต้องมีศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ทำ
2.ต้องไม่เป็นคนขี้โรค รักษาสุขภาพ
3.ต้องไม่เป็นคนขี้โม้ขี้คุย คนโม้อวดไม่มีใครอยากสอน
4.ต้องไม่เป็นคนขี้เกียจ ต้องมีมานะอดทน
5.ต้องเป็นคนมีสติปัญญา รู้จักสังเกตพิจารณา
*********************************
วิธีฝึกตนให้มีศิลปะ
1.ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต
2.ตั้งใจทำงานทุกอย่างที่มาถึงตน
3.ตั้งใจทำงานทุกอย่างด้วยความประณีต
4.ตั้งใจปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ
5.หมั่นใกล้ชิดกับผู้มีศิลปะ
6.ฝึกสมาธิอยู่เสมอเพื่อให้ใจสงบผ่องใส
*********************************
ข้อเตือนใจ
อย่าเอาแต่จับผิดผู้อื่น
ไม่อย่างนั้นตัวเราจะเป็นศิลปินนักติ
*********************************
อานิสงฆ์การมีศิลปะ
1.มีความสามารถเด่นกว่าผู้อื่น
2.เลี้ยงตัวเองได้
3.ฉลาดช่างสังเกต
4.มั่งคั่งสมบูรณ์
5.มีความสุข
6.โลกเจริญืั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ดูข้อมูลเชิงลึกและโฆษณา
ความรู้สึกทั้งหมด
คุณ, Mercy Kankong, Nongrat Chantee และ คนอื่นๆ อีก 22 คน

มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ

 มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ(อตฺตสมุมาปณิธิ จ)

*********************
เรือที่ฝ่าคลื่นอยู่กลางมหาสมุทรจะแล่นถึงฝั่งได้
นายเรือจะต้องตั้งจุดปลายทางไว้ถูกต้อง
และรู้จักควบคุมหางเสือให้เรือวิ่งไปไม่ผิดทิศทางฉันใด
คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้
ก็จะต้องตั้งตนชอบฉันนั้น
********************
ตั้งตนชอบ หมายถึงการตั้งเป้าหมายชีวิต
ทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้องประคองชีวิตไปตามเป้าหมายด้วยความระมัดระวังพากเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องนั้นให้ไดั
*********************
เป้าหมายชีวิต แบ่ง 3 ระดับ
1.เป้าหมายขั้นต้น ตั้งเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในชาตินี้ ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2.เป้าหมายขั้นกลาง ตั้งเป้าหมายเพื่อประโยชน์ชาติหน้า ตั้งใจสร้างกุศล อย่างเต็มที่ในทุกโอกาส
3.เป้าหมายขั้นสูงสุด ตั้งเป้าหมายเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง ตั้งใจปฎิบัติธรรมทุกรูปแบบเพื่อปราบกิเลสให้หมดสิ้น
*********************
ข้อเตือนใจ
บางคนเริ่มแรกตั้งเป้าหมายดีอยู่ แต่พอถูกคนอื่นเย้าแหย่ ล้อเลียน เจอสิ่งยั่วยุเรื่อย ๆ อาจเลิกปฎิบัติธรรม ปล่อยชีวิตไปตามกิเลส
*********************
วิธีรักษาเป้าหมายชีวิตให้มั่นคง
1.ฝึกให้เป็นคนมีศรัทธา มีเหตุผล เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
1.1 เชื่ออย่างมีเหตุผล ประกอบด้วยปัญญา เรียก ศรัทธา
1.2 เชื่ออย่างไร้เหตุผล ปราศจากปัญญา เรียก งมงาย
ศรัทธาขั้นพื้นฐาน 4 ประการ
- เชื่อกรรม กรรมมีอยู่จริง ความชั่วความดีมีขึ้นในตน
- เชื่อในผลของกรรม เชื่อทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ต้องมี 3 ประการ
ถูกดี ทำถูกวัตถุประสงค์
ถึงดี พยายามเต็มความสามารถ
พอดี มีสติดี
- เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน
- เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง
2. ฝึกให้เป็นคนมีศีล อย่างน้อยศีล 5
3.ฝึกให้เป็นคนมีความรู้ เป็นพหูสูต รู้ทางโลกและทางธรรม
4.ฝึกให้เป็นคนมีจาคะ รู้จักเสียสละ
4.1 สละทรัพย์ของเป็นทาน
4.2 สละอารมณ์บูดเป็นทาน
5.ฝึกสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญา
ฝึกใจให้มีพลัง มีความหนักแน่นเข้มแข็งในการรักษาเป้าหมายชีวิต
การฝึก 5 ประการ เรียก สารธรรม ถ้ามีธรรมทั้ง 5 เป็นคนที่มีแก่นคนอย่างแท้จริง
*********************
อานิสงส์การตั้งตนชอบ
1.เป็นผู้สามารถตั้งตนได้
2.เป็นผู้ไม่ประมาท
3.เป็นผู้เตรียมพร้อม ไว้ดีแล้วก่อนตาย
4.เป็นผู้มีควสมสวัสดีฝนทุกที่ทุกสถาน
5.เป็นผู้บูชาพระรัตนตรัย
6.เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ
7.เป็นตัวอย่างที่แีแก่อนุชนรุ่นหลัง
8.เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ
9.เป็นผู้มีแก่นคน ตักตวงประโยชน์จากชีวิตได้เต็มที่
10.เป็นผู้ได้รับสมบัติทั้ง 3 โดยง่าย คือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ
*********************
มารดาบิดา ก็คือญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้ แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้นได้