วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การบริหารยุคใหม่

การบริหารยุคใหม่
ตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ในหมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรา 37 กำหนดให้มีการจัดการศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการสนองต่อหลักการกระจายอำนาจทางการศึกษาอย่างแท้จริง และคาดหวังว่าจะทำให้การจัดการศึกษามีมาตรฐานคุณภาพที่ใกล้เคียงกันใน แต่ละพื้นที่การศึกษา

คุณสมบัติที่ผู้บริหารต้องมี
1. ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจในหลักการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. ผู้บริหารจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
3. การบริหารโรงเรียนจะต้องดำเนินการในรูปของคณะกรรมการสถานศึกษา
4. การมีบทบาทและมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงเรียน และชุมชน
5. มีการนิเทศติดตามการดำเนินงานต่างอย่างเป็นระบบ
6. มีการตรวจสอบในเชิงคุณภาพที่ชัดเจน โดยเฉพาะการบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลงาน
1. การบริหารการเปลื่ยนแปลง
อาศัยหลักคิดทฤษฎี แรงผลัก-แรงดึง ประกอบด้วย
ปัจจัยด้านระบบ เช่น ระบบการทำงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สภาพแวดล้อม
ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ ความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลง ความต้องการมีส่วนร่วม
เปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ
ด้านโครงสร้าง (Structurul Change)
ด้านบุคลาการในองค์การ (People Change) วิธีการทำงาน หน้าที่
ด้านกระบวนการทำงาน (Process Change) ให้การทำงานเร็วขึ้น ประสิทธิผลเชื่อถือได้
ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Cultrral Change) มุ่งเน้นการให้บริการประชาชน เปลี่ยนวัฒนธรรมการติดต่อสัมพันธ์ทุกระดับ
ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง
1.ผู้อุปถัมถ์การเปลี่ยนแปลง (Change Sponsor) หมายถึง ผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลง
2.ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate) หมายถึงผู้ที่ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมด้านการสื่อสารความสำคัญและเนื้อหาการเปลี่ยนแปลไปยังส่วนต่างๆขององค์กรต้องมีลักษณะดังนี้
เข้าใจการเปลี่ยนแปลง / ผู้ที่คนในองค์การรับฟัง น่าเชื่อถือ / โน้มน้าวจิตใจคนฟัง / ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หมายถึงผู้ที่วางแผนและทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นขับเคลื่อน ควบคุมกิจกรรม เป็นผู้ประสานและตัวกลาง มีลักษณะ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง / มีความสามารถในการวางแผน ทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ปัญหา / ประสานงานทั้งระดับบนและล่าง
4.ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (Change Target) ผู้ที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนตำแหน่ง หน้าที่ ทัศนคติ

การวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ มี 5 ขั้นตอน
1.สร้างทีมเจ้าภาพ หรือทีมงานที่จะรับผิดชอบในการวางแผน
2.พัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง
3.วางแผนและกำหนดตัวชี้วัด
4.พัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
5.ดำเนินการและหยั่งรากการเปลี่ยนแปลง
ลักษณะการวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
1. การวางแผน ลักษณะแผนที่ดี คือ เรียบง่าย แบ่งเป็นส่วนย่อย บอกบทบาทหน้าที่ และยืดหยุ่น
2. ประโยชน์ของตัวชี้วัดผลการทำงานช่วยกำหนดความเร่งด่วนของเป้าหมาย / สร้างแรงกระตุ้นในการทำงาน
/ เป็นเครื่องมือในการติดตามความก้าว หน้า / หาจุดที่ต้องการปรับปรุง / และใช้ในการสื่อสารผลการทำงาน
3.การพัฒนาบุคลากร ให้มีทัศนคติ ความรู้ ความสามารถ ทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง
จำหลักแค่นี้ คงไปวิเคราะห์ตอบข้อสอบได้ โอกาสเป็นข้อสอบ 1 -2 ข้อ

ทฤษฏีทางการบริหาร
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs)
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง
ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment)
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็น ปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z
การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็น ทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า
การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1.) Individualism มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง แต่ก็เกิดผลเสียคือ ไม่เกิดความผูกพัน
2.) Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น
3.) Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม

ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า
1.) การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มี การเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
ลักษณะประการที่สองของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ
การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า
วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย
ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือ การจ้างงานระยะยาวขึ้น
2.) Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล
3.) Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work)
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
3. ความมีวินัย (discipline)
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests)
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration)
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
11. ความเท่าเทียมกัน (equity)
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน


Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
แนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การ ต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ (Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation)
Luther Gulick : POSDCORB
กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P - Plannin
O - Organizing
S - Staffing
D - Directing
CO - Coordinating
R - Reporting
B - Budgeting
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
แรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* การบังคับบัญชา
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* การได้รับการยอมรับ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
* ความก้าวหน้าในงาน
* การเจริญเติบโต
นอกจากนี้เฮิร์ซเบอร์กยังบอกอีกว่า
1.องค์กรควรจะให้คนทำงานที่ท้าทายอย่างเต็มความสามารถ
2.พนักงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถจะต้องได้รับการเพิ่มความรับผิดชอบให้สูงขึ้น
3.หากงานไม่มีความท้าทาย และไม่ทำให้คนทำงานได้อย่างเต็มความสามารถแล้วจะเกิดปัญหาในเรื่องของแรงจูงใจในการทำงาน

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น