โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA
(Programme for International Student Assessment)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อต้องการหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกและประเทศร่วมโครงการ PISA
2. ประเมินถึงศักยภาพในการใช้ความรู้ของนักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับ
ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PISA ตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในกลุ่มอาเซียนมีประเทศที่เข้าร่วม 3 ประเทศคือ ไทย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ตรวจสอบว่าเยาวชนที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรืออายุ 15 ปี ของประเทศต่างๆ มีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐาน
ที่จะเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อความร่วมมือและ
พัฒนาทางเศรษฐกิจ(Organisation for Economic Co-operation and Development หรือOECD)
มีประเทศในโครงการทั้งหมด 65 ประเทศ
การประเมินผลนักเรียนในโครงการนี้ จะดำเนินการทุกๆ 3 ปี โดยประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PISA มาแล้ว 4 ครั้ง
PISA ประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ซึ่งในที่นี้จะใช้คำว่า “การรู้เรื่อง” และ PISA เลือกประเมินการรู้เรื่องในสามด้าน ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) PISA ได้แบ่งการประเมินออกเป็น 2 รอบ กล่าวคือ รอบที่ 1 (Phase I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่ 2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) ในการประเมินผลนักเรียนจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ กล่าวคือ
1) การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน (มีน้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%)
2) การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ (น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%)
3) การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ (น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%)
ที่มา
http://sites.google.com/site/acadedmsu/khxsxb-pisa
http://pisathailand.ipst.ac.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น