1. นโยบายรัฐบาล แผนการบริหาราชการแผ่นดิน และวาระแห่งชาติ
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
- แถลงวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554
- แต่งตั้งนายก 5 สิงหาคม 2554
- แต่งตั้งครม.9สิงหาคม 2554
- ครอบคลุมถึง แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด 5 ของรัฐธรรมนูญไทย
- หลักการและเหตุผล
o การเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจ
o การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง
o การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างประชากรและสังคมไทย
-
นโยบายของรัฐบาล มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย
1.นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น
2.นำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์
3.นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 8 ข้อ
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก
2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
3.นโยบายเศรษฐกิจ
4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม
7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์มี 2 ระยะ8 ข้อ-16 เรื่องด่วน คือ
1. ระยะเร่งด่วน -ดำเนินการในปีแรก
2. ระยะบริหารราชการ 4 ปี
1.นโยบายเร่งด่วน คือ
1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ
2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” /ยึดหลักนิติธรรม
3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง
4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ
6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
- ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราว
- บัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ
8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในสร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี
- ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท
- ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท
- ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท
- จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท
- ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556
10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- ตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
- จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน เพื่อพัฒนากองทุนด้วยตนเอง
11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท
- จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ
- โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle ThaiLand
13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ โรคหลอดเลือด มะเร็ง
15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555
16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ
ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้
2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
- เทิดทูนและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และพอเพียง
- พัฒนาเสริมสร้างศักยภาพกองทัพ
- พัฒนาเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
- พัฒนาระบบเตรียมพร้อมแห่งชาติ
- เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.นโยบายเศรษฐกิจ
3.1 นโยบายเศรษฐกิจมหภาค
- กระจายรายได้ที่เป็นธรรม
- ส่งเสริมเข้าถึงแหล่งทุน
- พัฒนาระบบสถาบันการเงิน
- ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ
- รักษาวินัยการคลัง
- ปรับปรุงโครงรัฐวิสาหกิจ
- บริหารสินทรัพย์ของประเทศ กองทุนมั่งคั่ง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนอาหาร กองทุนครู
3.2 นโยบายสร้างรายได้
- ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ วัฒนธรรม /รายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่ม 2 เท่าใน 5 ปี
- ขยายบทบาทธุรกิจเกษตร ให้ไทยเป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขาย ข้าว น้ำตาล มันสันประหลัง
- ผลักดันพลังงานปิโตรเลี่ยมและพลังงานทดแทน
- ยกความสามารถแข่งขันขยายช่องทางตลาด
- สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย/พัฒนาสร้างตราสินค้าใหม่
- ส่งเสริมการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
- ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ
- สร้างกระบวนการสร้างอาชีพ/ตั้งกองทุนต่างๆสนับการเกิดการผลิต การแปรรูปการค้าที่ทันสมัย
- ส่งเสริมการขยายการเชื่อมโยงทางการค้า /แสวงหาโอกาส ความพร้อมรองรับผลกระทบ
3.3 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
3.3.1 ภาคเกษตร
- สภาเกษตรกรแห่งชาติ
- วิจัยพัฒนาสายพันธ์
- ผลิตด้านปศุสัตว์ได้มาตรฐานปลอดภัย เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาการประมง ตรวจสอบน้ำตามมาตรฐานสากล
- เสริมสร้างครัวเรือนให้เข้มแข็ง/เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน
- จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนข้อมูลการเกษตร
- เร่งรัดพัฒนาธุรกิจเกษตร
- พัฒนาอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่ม
- ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
3.3.2 อุตสาหกรรม
- ยกระดับการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม
- อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เทคโนโลยี
- อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ช่องการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ
- กำหนดมาตรฐานสินค้าขั้นพื้นฐาน
- พัฒนาอุตสาหกรรมแหล่งใหม่
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบสังคม
- มาตรการภาษี ให้ประหยัดพลังงาน
- ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม
- แสวงหาแหล่งแร่สำคัญ
3.3.3 การท่องเที่ยว บริการ การกีฬา
- พัฒนาการท่องเที่ยว – เจ้าภาพจัดกิจกรรมนานาชาติขนาดใหญ่
- พัฒนาภาคบริการ – องค์ความรู้ เพิ่มมูลค่า
- พัฒนาการกีฬา – ศูนย์การกีฬาของภูมิภาคและโลก
3.3.4 การตลาด การค้า การลงทุน
ศูนย์กลางผลิตอาหารฮาลาล การค้าเสรี พหุภาคี /ทวิภาคี
3.4 นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางขนส่ง
- พัฒนารถไฟความเร็วสูง กทม-เชียงใหม่,กทม-นครราชสีมา,กทม-หัวหิน
- แอร์พอตลิ้ง ชลบุรี-พัทยา
- รถไฟฟ้า 10สาย ใน4 ปี เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
- ท่าอากาศยานสากล
3.5 นโยบายพลังงาน
- อุตสาหกรรมสร้างรายได้ให้ประเทศ
- ความมั่นคงทางพลังงาน
3.6 นโยบายสารสนเทศ
- เร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง
- เข้าถึงการใช้บริหารเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถานที่ราชการ สถานศึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- ใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ระบบสื่อวิทยุกระจายเสียงเปลี่ยนจากระบบอนาล๊อกเป็นระบบดิจิตอล
- ส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ อุตสาหกรรม
4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4.1 นโยบายการศึกษา
- เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา
o ปฎิรูประบบความรู้ของสังคมไทย
o โครงการสร้างตำรา
o จัดให้มีระบบจัดการความรู้
o ปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ
o ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทุกระดับวัดผลจากการผ่านการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติ นานาชาติ
o ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย
o จัดครูดีเพียงพอทุกห้องเรียน
o พัฒนามหาวิทยาสู่ระดับโลก
o พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม
- สร้างโอกาสทางการศึกษา
o กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม
o ส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงแรกเกิด
o จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)
o โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
- ปฏิรูปครู
o พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถ และวัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษา เป็นหลัก
- จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาให้สอดคล้องตลาดแรงงาน
o ผู้จบการศึกษามีงานทำทันที
- เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมนานาชาติ
o จัดระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์
o พัฒนาระบบไวเบอร์โฮม
o อุปกรณ์แท็บเล็ต
o มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
o กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ
o พัฒนามหาวิทยาลัยให้มุ่งสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก
o มหาวิทยาลัยวิจัยมี 9 แห่ง คือ เกษตรศาสตร์ มหิดล เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เชียงใหม่ สงขลา สุรนารี จุฬา ธรรมศาสตร์ ขอนแก่น
- เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยกรมนุษย์รองรับการเปิดเสรีอาเซียน
o การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ
5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ
7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศร
8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น