วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษา
สรุประบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา
เพื่อให้นักเรียน
ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และการรอดพ้นจากวิกฤติ

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในดำเนินงาน
มีกิจกรรม สำคัญ 5 กิจกรรมดังนี้
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
การคัดกรอง (กลุ่มปกติ , กลุ่มเสี่ยง,กลุ่มมีปัญหา)
การส่งเสริมและการพัฒนา
การป้องกัน ช่วยเหลือ และการแก้ไข
การส่งต่อ

รายละเอียดของกิจกรรมพอสังเขปดังนี้
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
SDQ การสังเกต ระเบียนสะสม สมุดผลการเรียน -ฯลฯ
การจัด กิจกรรมโฮมรูมด้วยเครื่องมือต่างๆ
การจัดเรียนการสอนในห้องเรียน
สัมภาษณ์นักเรียน เพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ

การคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
การให้การปรึกษา (คลินิกให้การปรึกษา)
กิจกรรมซ่อมเสริม
การติดต่อผู้ปกครอง
เพื่อนช่วยเพื่อน ฯลฯ

การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน
กิจกรรมโฮมรูม
class room metting
คลินิกให้การปรึกษา
ฯลฯ

การจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา
การส่งต่อภายใน (คลินิกให้การปรึกษา)
การส่งต่อภายนอก (คลินิกให้การปรึกษา)

การส่งต่อ
การส่งต่อนักเรียนไปสู่ผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าจะช่วยได้ดียิ่งขึ้นคลินิกให้การ ปรึกษาประกอบด้วยนักจิตวิทยา พยาบาล แพทย์ และจิตแพทย์

กลุ่มปกติ -กิจกรรมส่งเสริม พัฒนา
กลุ่มเสี่ยง - กิจกรรม ป้องกัน
กลุ่มมีปัญหา - กิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน
เด็กพิเศษ - ส่งเสริม พัฒนา ให้เต็มศักยภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงานของคลินิกให้การปรึกษา ได้ดำเนินการตามขั้นตอน PDCA ดังนี้
P (Plan)
ประชุมวางแผนร่วมกัน
จัดทำโครงการและงบประมาณเพื่อขออนุมัติ
สำรวจปัญหาและผู้ที่สนใจใช้บริการ
จัดทำตารางให้บริการ
ประชาสัมพันธ์
การเตรียมความพร้อม
D (Do)
การนัดหมายนักเรียน ครู ผู้ปกครองใช้บริการตามความเร่งด่วนของปัญหา
ประสานให้ผู้ใช้บริการพบวิทยากรผู้ให้การปรึกษาทั้งเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
C (Check)
ประเมินผลและสรุปผลแบบประเมิน
A (Action)
นำผลจากขั้น C มาพัฒนาการให้บริการในปีการศึกษาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น