สสวท.เตรียมจับมือ สพฐ. นำร่องตั้ง “สะเต็มศึกษา” พลิกโฉมการเรียนวิทย์
ไม่เรียนเพื่อสอบ แต่ปั้นคนรุ่นใหม่ “เก่งทักษะ แก้ปัญหา แข่งขันทันโลก”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
เปิดเผยว่าจากการประชุมคณะกรรมการ สสวท. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556
ที่ผ่านมา
ที่ประชุมเห็นร่วมกันถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เกิด“สะเต็มศึกษา” (STEM
Education) ขึ้นในประเทศไทย โดยสะเต็มศึกษา (Science Technology
Engineering and Mathematics Education)
เป็นแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ที่เน้นบูรณาการ
การเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาตลอดชีวิต
เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
สามารถประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
พร้อมทั้งมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพและเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยา
ศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประชากรไทยให้ทันการเปลี่ยนแปลงโลกไม่เรียนเพื่อสอบ แต่ปั้นคนรุ่นใหม่ “เก่งทักษะ แก้ปัญหา แข่งขันทันโลก”
“สะเต็มศึกษา” เป็นแนวทางใหม่ที่แตกต่างจากการเรียนการสอนปัจจุบัน ซึ่งเน้นท่องจำ หรือ “เรียนเพื่อสอบ” เพราะจุดเด่นของสะเต็มคือ เน้นบูรณการและนำไปใช้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ๆ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ มุ่งฝึกฝนสร้างผู้เรียนให้เกิดทักษะในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สามารถเชื่อมโยงสู่การประกอบอาชีพรวมทั้งการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพใน สังคมและเศรษฐกิจอนาคตซึ่งเป็นโลกแห่งการแข่งขัน
ประธานกรรมการสสวท.กล่าวว่าที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าในระยะแรกควรดำเนินงาน “สะเต็มศึกษา” เป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนก่อน จากนั้นหากพิจารณาแล้วเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ขอประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป โดย สสวท.จะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวและพร้อมรับเป็นหน่วยงานภาคปฏิบัติ ดำเนินการผลักดันให้เกิดสะเต็มศึกษาขึ้นในภูมิภาค โดยจะขอหารือเรื่องกำหนดยุทธศาสตร์ปฏิบัติ จำนวนเขตการศึกษา และรายละเอียดต่างๆ ของระยะนำร่องร่วมกันต่อไป
รูปแบบของ “สะเต็มศึกษา” นั้น สสวท.อาจจัดให้เป็นแหล่งข้อมูลและศูนย์รวมหลักสูตร หนังสือ แบบเรียน คู่มือครู สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม ทั้งสิ่งพิมพ์ สิ่งประดิษฐ์และดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ครูเข้าถึงการใช้งานสะดวก อีกทั้งหาซื้อได้ง่ายจากร้านสะดวกซื้อต่างๆ เรียกว่า ไอสะเต็ม ( iSTEM ) เป็นเครื่องมือเพิ่มศักยภาพครูสู่การจัด การเรียนรู้ของนักเรียน สร้างทักษะในการแก้ปัญหา ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความตระหนักและนำวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการดำรงชีวิตในทุกสาขาอาชีพได้ตามเป้าหมายของ STEM Education
“สะเต็มศึกษา” เป็นระบบบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งต้องประสานร่วมมือในหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ภาคเอกชน ธุรกิจ อุตสาหกรรม และมีคณะทำงานที่ชัดเจนซึ่ง สสวท.จะจัดตั้งคณะทำงานด้าน STEM ศึกษาเร็วๆ นี้
ที่มา http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/news/13661/
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000005681
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น