วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

คณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ

ศธ.แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ
ศึกษาธิการ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวง ศึกษาธิการ ที่ สร ๑๙๗/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิรูปหลักสูตรและการพัฒนาตำราเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา สามารถดำเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ โดยได้แต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการรวม ๒ คณะ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
คณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ประกอบด้วย
- คณะที่ ๑ คณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมี รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วางแนวทางระบบการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และให้ความเห็นชอบระบบการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องได้ทำการพัฒนาและ ยกร่าง


 More Resources
 ข่าวล่าสุดของ รมว.ศธ.
 เกี่ยวกับ สพฐ.


053 ตรวจเยี่ยมมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
038 ารกิจที่ลพบุรี
034 เปิด OBEC Channel
026 ประชุมคณะกรรมการบริหารฯ แท็บเล็ต ครั้งที่ 1/2556
020 ครูดีไม่มีอบายมุข
349 กรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์
341 งานศิลปหัตถกรรมภาคใต้
340 ประกวดสร้างสื่อการเรียนรู้..สู่แท็บเล็ต
339 ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายแท็บเล็ต ครั้งที่ 10/2555
336 ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา


   
 

- คณะที่ ๒ คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ.เป็นประธานคณะกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
๑) ออกแบบระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะให้ประกาศใช้เป็นระบบการศึกษาของประเทศ โดยศึกษา วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของระบบการศึกษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่การศึกษามีคุณภาพสูง
๒) ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ทั้งระบบ ให้เป็นหลักสูตรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการของโลก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) กำหนดรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร รวมทั้งเนื้อหารายวิชา รายละเอียดการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งลำดับขั้นในการเรียนรู้ของเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ที่เหมาะกับพัฒนาการของนักเรียนไทย โดยมุ่งให้เกิดระบบการจัดการศึกษาที่มีสัมฤทธิ์ผลสูง
๔) ดำเนินการโครงการ "ตำราเรียนแห่งชาติ" ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยการกำหนดโครงสร้างของตำราเรียนทุกรายวิชา เพื่อเป็นแนวทางการแต่งตำราเรียนของโรงเรียน ครูอาจารย์ สำนักพิมพ์ และนักวิชาการต่างๆ ทั้งตำราเรียนแบบสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๕) พัฒนาระบบการอนุมัติต้นฉบับตำราเรียนที่มีประสิทธิภาพและมีหลักประกันด้านคุณภาพ
๖) ดำเนินการทดสอบหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ รวมทั้งตำราเรียน ในโรงเรียนนำร่องที่มีความเหมาะสม
๗) วางแผนการประกาศและใช้หลักสูตรใหม่ทั่วทั้งระบบการศึกษาของประเทศ
๘) มีอำนาจในการตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย
ที่มhttp://www.moe.go.th/websm/2013/feb/056.html

เพลงชาติประเทศอาเซียน


นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิด เผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.เตรียมความพร้อมขับเคลื่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยที่ประชุมหารือและทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ ที่จะลงรายละเอียดในการส่งเสริมตัวผู้เรียน โดยที่ประชุมพูดถึงสาระการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดหัวข้อที่จะส่งเสริมผู้เรียนไว้ 5 เรื่อง คือ

     1.การรู้จักอาเซียน เรียนรู้ให้เข้าใจบริบทเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และวิถีชีวิตของประเทศอาเซียนทั้งหมด อาทิ เพลงชาติของแต่ละประเทศ โดยจะส่งเสริมให้เด็กเข้าใจ ถ้าเป็นไปได้เด็กควรร้องเพลงชาติของแต่ละประเทศได้ด้วย เพราะมีความสำคัญแสดงออกถึงความเข้าใจให้เกียรติกันและกัน 

     2.คุณค่าและเอกลักษณ์ นักเรียนจะได้เรียนรู้ ต้องยอมรับและปรับตัวในความหลากหลาย
     3.การเชื่อมโยงโลกและท้องถิ่น
     4.การส่งเสริมความเสมอภาคและความยุติธรรม และ
     5.ความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต้องเน้นความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิดประเทศที่ยั่งยืน 

     นายชินภัทร กล่าวต่อไปว่า นี่คือจุดที่ สพฐ.ต้องส่งเสริมเพื่อให้มีการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง จากนี้ไปการที่นักเรียนแสดงออกเกี่ยวกับอาเซียนจะไม่ยึดติดเพียงการแต่งกาย และการถือธงชาติเท่านั้น แต่ จะลงลึกที่นักเรียนจะต้องนำสาระของอาเซียนมาต่อยอด ทั้งในเชิงของการอภิปราย เสวนา และดีเบตในประเด็นต่างๆ ให้รู้ถึงอาเซียนอย่างแท้จริง

ที่มา  http://www.kruthai.info/view.php?article_id=4112

จากที่ได้อ่านข่าวเลยได้ไปสืบค้นหาเพลงชาติต่าง ๆได้ดังนี้คะ


เพลงชาติพม่า 







เพลงชาติลาว ( เพงซาดลาว ) 

 

เพลงชาติกัมพูชา ( โนโกร์เรียช ) 

 

เพลงชาติมาเลเซีย ( เนการากู ) 

 เพลงชาติเวียดนาม 

 

 

เพลงชาติบรูไน

Anthem Brunei

  เพลงชาติฟิลิปปินส์

  Indonesia Raya

เพลงชาติสิงคโปร์ 

 

เพลงชาติไทย

 

 

 

 



วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข่าวล่าสุดเงินตกเบิกเงินวิทยฐานะ

 ข่าวล่าสุดเงินตกเบิกเงินวิทยฐานะ

 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ผอ.พอใจ ผิวบุญเรือง ได้เปิดเผยกับเว็บครูไทย ว่า ตามที่ได้แจ้งถึงครูผู้รอคอยเงินตกเบิกวิทยฐานะไปแล้วว่า ให้เพื่อนครูที่เดือดร้อนทางการเงิน ก่อนที่จะได้รับเงินตกเบิกวิทยฐานะในช่วงเดือนตุลาคม 2556 ได้แจ้งความประสงค์ประสงค์ขอกู้เงินช่วยเหลือเพื่อนครูโครงการพิเศษจาก สกสค.ไปแล้วนั้น

ล่าสุด โครงการขอกู้เงินดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองของ สกสค. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปขอให้เพื่อนครูที่รอคอยเงินตกเบิกวิทยฐานะได้กรอกข้อมูลลงใน แบบฟอร์มที่แนบมาในข่าวนี้ของเว็บครูไทย แล้วส่งมาที่อีเมล์ thailand777@hotmail.com พร้อมกับเอกสารเพิ่มเติมอีก 2 อย่าง ได้แก่ คำสั่งแต่งตั้งให้ได้รับวิทยฐานะและสลิปเงินเดือนของตัวท่านเอง แล้วส่งแนบไฟล์มาด้วยกัน

ผอ.พอใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนั้น จะได้ดำเนินการจัดทำบัญชีผู้ที่ประสงค์ขอกู้เงินให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อส่งมอบให้ทาง สกสค. นำไปแนบเรื่องเพื่อส่งไปที่ สพฐ. เพื่อให้ สพฐ. เป็นผู้อนุมัติให้เพื่อนครูที่รอคอยเงินตกเบิกวิทยฐานะได้ยืมเงินจากทาง สกสค. ได้

ที่มา http://www.kruthai.info/viewss.php?article_id=4032

แนวปฏิบัติการปรับอัตราเงินเดือนครู ให้ได้รับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง

แนวปฏิบัติการปรับอัตราเงินเดือนครู ให้ได้รับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง
ที่มา http://www.kroobannok.com/56659 

ปรับปรุงตำแหน่ง ๓ รับ ๑๕,๐๐๐ บาท.mp4

การประเมินโครงการ


  ตาม มาตรฐานการจัดการศึกษามาตรฐานที่ ๘ ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการที่ผู้บริหารจะปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นต้องมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามหลักวิชาการ ซึ่งเห็นว่าการที่ผู้บริหารจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจนั้นควรที่จะมีการประเมินการปฏิบัติงานโดยการประเมินโครงการเพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
     ปัจจุบันการประเมินโครงการสำหรับผู้บริหารจะทำกันมากในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ 
ดังนั้นเห็นว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง เห็นเป็นรูปธรรมผู้บริหารควรจะมีความรู้เรื่องประเมินโครงการอย่างถ่องแท้ เพื่อใช้ประเมินโครงการต่าง ๆ ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
      การประเมินโครงการนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการดำเนิน       โครงการ เพราะการประเมิน
โครงการหมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการ      ตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ การจัดการประเมินโครงการเพื่อให้ทราบว่า        โครงการนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร จะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงโครงการ



ที่มา http://www.moe.go.th/wijai/project.htm