วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สวดมนต์ข้ามปี2563

9 บทสวดมนต์ข้ามปี เสริมดวงให้ชีวิตรุ่งเรือง ที่นิยมสวดมนต์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563
พระธรรมโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 จุดไฟพระฤกษ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อส่งต่อให้เจ้าคณะอำเภอ ทั้ง 15 อำเภอของจังหวัดน่าน เพื่อนำไปประกอบพิธีสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ วิถีพุทธ 2563

วันนี้ (วันที่ 30 ธันวาคม 2562) เวลา 14.00 น. คณะสงฆ์จังหวัดน่าน จัดพิธีต่อไฟพระฤกษ์ ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อนำไปประกอบพิธีสวดมนต์ตามโครงการส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ พุทธศักราช 2563 ณ พระวิหารหลวง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดน่าน โดยมีพระราชศาสนาภิบาล รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะอำเภอ ทั้ง 15 อำเภอ กราบพระรัตนตรัย จากนั้นเจ้าหน้าที่พิธี เชิญโคมไฟพระฤกษ์ ส่งให้ นายสโรช รัตนมาศ วัฒนธรรมจังหวัดน่าน ถวายแด่ ประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อนำไปประดิษฐานไว้หน้าพระรูป สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดย พระธรรมนันทโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 เป็นผู้จุดไฟพระฤกษ์ ในขณะที่เจ้าคณะอำเภอทั้ง 15 อำเภอ เจริญพระพุทธมนต์ ชัยมงคลคาถา บทชยันโต จากนั้น ประธานสงฆ์ คือ พระราชศาสนาภิบาล รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน ทำการต่อไฟพระฤกษ์ให้แก่เจ้าคณะอำเภอแต่ละอำเภอ เพื่อนำไปประกอบพิธีสวดมนต์ข้ามปี ณ วัดสำคัญ ทั้ง 15 อำเภอของจังหวัดน่าน ในวันส่งท้ายปี วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ต่อวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 2563 ต่อไป

สำหรับการสวดมนต์ข้ามปีของจังหวัดน่านในปีนี้ จัดขึ้นตามวัดสำคัญ ๆ ทั่วทั้ง 15 อำเภอ รวม 73 วัด 2 โบสถ์คริสต์ และ 2 อุทยาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จนถึงเวลา 00.30 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2563 จึงขอเชิญชวนชาวน่านร่วมในพิธี ณ วัด ศาสนสถาน โบสถ์คริสต์ หรืออุทยานใกล้บ้าน เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคล รับปีใหม่โดยทั่วกัน
9 บทสวดมนต์ข้ามปี 2020 อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/articles/new-year-prayer-message?fbclid=IwAR0Xn4DqcG4R_yyvFmzhxg0lGHDFRHzy39v9izXXlQlhLmxAk-ZesuD2NVc&ref=ct
บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

บทที่ 4 สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
(ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)
บทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

บทพระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทที่ 6 บทมงคลสูตร
(ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่) 
เอวัมเม สุตัง ฯ

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา
อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา
เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ

อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ

บทที่ 7 บทโพชฌังคปริตร
(หายจากโรคภัย สุขภาพดีรับปีใหม่)

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตกา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต สัพพะทาฯ
เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตะวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
เอะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญนะ ภะนาเปตะวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทาฯ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

บทที่ 8 บทพุทธชัยมงคลคาถา
(ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในปีใหม่)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

บทที่ 9 บทแผ่เมตตา 
แผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข)
อะหัง นิททุกโข โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์)
อะหัง อะเวโร โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร)
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด)

บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพเพ
สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ

กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/articles/new-year-prayer-message?fbclid=IwAR0Xn4DqcG4R_yyvFmzhxg0lGHDFRHzy39v9izXXlQlhLmxAk-ZesuD2NVc&ref=ct




วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คอมพิวเตอร์ควอนตัม

คอมพิวเตอร์ควอนตัม
Quantum Computer คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ต่างจากของคอมพิวเตอร์ธรรมดาซึ่งทำงานบนระบบเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ Bits) โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้ Qubit (Quantum Bit) ซึ่งสามารถมีข้อมูลได้หลายสถานะในตำแหน่งเดียว ในขณะที่ Bits ธรรมดาเป็นได้เพียงแค่ 0 หรือ 1 เท่านั้น



ทำทุกอย่างพร้อมกันในคราวเดียว
นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าคุณสมบัติ superposition ของคิวบิตจะเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สามารถนำไปสร้างอัลกอริทึมสำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัม และจะช่วยให้ประมวลผลได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ลองดูสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ประกอบ (หลังจากนี้จะใช้คำว่า “อัลกอริทึมควอนตัม” เรียกอัลกอริทึมสำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัม)

ข้อมูลค้นคว้าเพิ่มเติม
- www.blognone.com
- www.thestandard.co/quantum-computer-1/
- www.workpointnews.com/
- อพวช. N S M



วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ร่วมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน




ทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกันปลูกต้นไม้ 
ร่วมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน 
แล้วมาลงทะเบียนเพื่อรับเกียรติบัตร
****************************************************

1. เข้าไปลงทะเบียนก่อนโดยที่คลิกที่ ลงทะเบียน จะมีช่องให้ใส่ข้อมูลลงทะเบียน

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยจะปรากฏ



2.เข้าสู่ระบบโดยใส่เลขประจำตัวประชาชน แล้วคลิกเข้าระบบ

3. ใ่ส่ข้อมูลการปลูกต้นไม้

หลักสูตรอบรมครูออนไลน์ ขอทำวิทยะฐานะได้

หลักสูตรอบรมครูออนไลน์ 

  •  การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่การปฎิบัติงานเป็นฐานคลิกเข้าเรียน 

  • หลักสูตรการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มครูผู้ช่วย ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู คลิกเข้าเรียน
  • หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คลิกเข้าเรียน

การพัฒนานิสัยด้วย 5 ห้องชีวิต

การพัฒนานิสัยด้วย 5 ห้องชีวิต
1. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล)
2. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา)
3. ห้องอาหาร(ห้องมหาประมาณ)
4. ห้องแต่งตัว(ห้องมหาสติ)
5.ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ)

โดยรายละเอียดของแต่ละห้องมีดังนี้
1. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล)

   - ห้องพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป
   - หลักธรรมประจำห้อง คือ สัมมาทิฐิ และสัมมาสมาธิ
   - หน้าที่หลัก
      1.ปลูกความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโลกและชีวิต ให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคล
      2. ใช้ในการฝึกสัมมาสมาธิให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลาง
   - เป็นพื้นฐานของ การคิดดี พูดดี และทำดี ตลอดวัน
   - ความรู้ที่ต้องมี
      1.อากาศปลอดโปร่ง                                                          2. ไม่แคบหรือกว้างเกินไป
      3. ตกแต่งอุปกรณ์ดูแลรักษาง่ายและทำความสะอาดง่าย
      4. ไม่นำทีวี สัตว์เลี้ยงอาหาร เครื่องดื่มเข้าไป
      5. ไม่ประดับตกแต่งด้วยภาพลามกอนาจาร   6.หมั่นทำความสะอาด
   - ประโยชน์  1. ทางใจ  กราบพระ สำรววจบุญบาป  อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ ปลูกฝังนิสัยรักศีลธรรม
                                        วางแผนทำบุญกุศล   สวดมนต์สมาทานศีล เจริญภาวนา
                       2.ทางโลก  พักผ่อนนอนหลับ  บำเพ็ญเพียรภาวนา

   
2. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา)
   - ห้องพัฒนานิสัยพิจารณาสังขาร
   - หลักธรรมประจำห้อง คือ สัมมาสังกัปปะ
   - หน้าที่หลัก
          1. พิจรณาความไม่งามของร่างกาย
          2. พิจารณา โรคยองร่างกาย
          3. พิจารณา ความเสื่อมโทรมของร่างกาย
   - เป็นพื้นฐานของ การคิดถูกไม่หมกหม่นในในกาม อาฆาตพยาบาท  ไม่เบียดเบียนใคร
 - ความรู้ที่ต้องมี  1. ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป                 2. ปลอดภัย สะอาด สะดวกในการดูแล
                            3.คุณภาพดีใช้งานได้นาน                 4. มีอปกรณ์ที่จำเป็นและวิธีใช้ที่ถูกต้อง
                            5.สังเกตสุขภาพจากส่งปฎิกูลออกจากร่างกาย
                            6.ช่วยกันรักษาความสะอาด              7.ประหยัดน้ำ
                            8.มีเครื่องใช้สำรองไว้                         9.มีมารยาทในการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
   - ประโยชน์  1. ทางใจ  พิจารณาโทษและความไม่งามของร่างกาย ไม่คิดอาฆาตแค้น 
                            ไม่เบียดเบียนใคร ใจสร้างสรรค์สงบเย็น
                       2.ทางโลก  ดูแลตนเองได้ถูกต้องทุกวัน รักษาความสะอาดร่างกาย พิจารณาสีอุจจาระ เพื่อรู้ว่าสุขภาพร่างกายปกติหรือไม่
3. ห้องอาหาร(ห้องมหาประมาณ)

   - ห้องพัฒนานิสัยรู้ประมาณในการพูดและการใช้ทรัพย์
   - หลักธรรมประจำห้อง คือ สัมมาวาจา และ สัมมากัมมันตะ
   - หน้าที่หลัก
          1. เป็นประชุมสมาชิกในครอบครัว
          2. ปลูกฝังสัมมาวาจา และ สัมมากัมมันตะ
          3. พิจารณา ความเสื่อมโทรมของร่างกาย

 - ความรู้ที่ต้องมี  1. รักษาความสะอาด                          2. จัดเป็นระเบียบ
                            3.เป็นห้องรับแขก                               4. แบ่งห้องให้ชัดเจน
                            5.จุดชุดรับแขกไว้ประตู  โต๊ะรับประทานอาหารใกล้ห้องครัว
                            6.ช่วยกันรักษาความสะอาด              7.เตรียมวัตถุดิบให้ครบ                         
                            8.ฝึกสมาชิกช่วยกันทำครัว                     9.รู้จักวิธีถนอมอาหาร
   - ประโยชน์  1. ทางใจ  ประมาณในการรับประทานอาหาร  การใช้ทรัพย์ ประมาณวาจา พูดนุ่มนวล
                       2.ทางโลก  ประกอบอาหาร ประชุมสมาชิก ใช้รับประทานอาหาร  เก็บอาหาร ต้อนรับแขก
4. ห้องแต่งตัว(ห้องมหาสติ)

   - ห้องพัฒนานิสัยตัดบุญและใฝ่บุญ
   - หลักธรรมประจำห้อง คือ สัมมาสติ
   - หน้าที่หลัก
          1. ประคองรักษาใจให้ผ่องใส
          2. ระมัดระวังในทุกๆเรื่อง
          3. ไม่คิดหมกมุ่นในกามราคะ
          4.ใช้เหตุผลตักเตือนใจของตน

 - ความรู้ที่ต้องมี  1. ปกปิดอวัยวะ.   2.ป้องกันอันตราย  3.แต่งให้เหมาะกับกาละเทศะและสถานที่
                            4.แต่งที่เหมาะกับฐานะ    5.ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามราคะ
   - ประโยชน์  1. ทางใจ  ตัดใจไม่ลุ่มลงในลาภยศสรรเสริญสุข  ตัดใจไม่มัวเมาในความหนุ่มสาว
                                        ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่าย        ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ
                                       ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข
                       2.ทางโลก  รู้จักให้เกียรติและเคารพสถานที่  รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม
                                           รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสม
                                           มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในทางคิดดีพูดดีทำดีอยู่เสมอ
5.ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ)

   - ห้องพัฒนานิสัยใฝ่ความสำเร็จ
   - หลักธรรมประจำห้อง คือ สัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ
   - หน้าที่หลัก
          1. ใช้ปลูกฝังสัมมาอาชีวะไม่หารายได้จากการทำผิดผิดทำผิดกฎหมายใช้
          2. ปลูกฝังวินัยประจำห้องทำงาน 6 ประการ
               1.สัมมาวาจาใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสม
               2.มีความเคารพในบุคคลสถานที่และเหตุการณ์
               3.มีมารยาทดี
               4.มีความรับผิดชอบเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยในการทำงาน
               5.เอาใจใส่ดูแลและอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมใช้งาน

 - ความรู้ที่ต้องมี  1. ประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรมไม่ผิดกฎหมายไม่เกี่ยวกับอบายมุข        
                           2.  สอดคล้องกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม
                            3.เหมาะสมกับจำนวนบุคลากรและชนิดของงาน
                           4. ตกแต่งห้องต้องสะดวกในการทำงาน
                            5.ของเครื่องใช้เพียงพอ
                            6.ใช้อุปกรณ์ถูกวิธีมันดูแลรักษา         
                           7.มีกุศโลบายในการสนับสนุนคนดี แก้ไขคนโง่ คัดออกคนพาล
   - ประโยชน์  1. ทางใจ  ใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพให้ประสบผลสำเร็จ มีโอกาสเพิ่มบุญกุศลให้ตนเองเป็นนิตย์ แสวงหาความรู้เพิ่มพูนปัญญา
                       2.ทางโลก การดูแลปกป้องให้เพิ่มปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพ  พัฒนาความชำนาญในการทำงาน  ฝึกนิสัยวิริยะอุตสาหะในการทำงาน  ใช้เพิ่มพูนทรัพย์

โครงการต้นแบบในการจัดการฐานเรียนรู้ การจัดการขยะภายในโรงเรียน ต่อยอดการดำเนินงานสู่ชุมชน

         โครงการต้นแบบในการจัดการฐานเรียนรู้ การจัดการขยะภายในโรงเรียน ต่อยอดการดำเนินงานสู่ชุมชน วงเงิน 702,150 (เจ็ดแสนสองพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี (วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2564 )
มีแผนการดำเนินการดังนี้ 
แผนงานที่ 1 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย 
แผนงานที่ 2 การคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป
แผนงานที่ 3  การจัดการขยะแต่ละประเภท
แผนงานที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และการถอดบทเรียน
          โดยได้จัดทำแผนการใช้เงิน,แผนการดำเนินงานและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน