วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ให้ไว้ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2545
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน
ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นปีที่ 65 ในรัชกาลปัจจุบัน
แบ่งเป็น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 78 มาตรา

ความมุ่งหมายและหลักการ
*มาตรา ๖ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม
มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี
ระบบการศึกษา
มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา ๑๖ การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา
มาตรา ๑๗ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด
แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า
**** ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
***** และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ต้องเน้น
****ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
****กระบวนการเรียนรู้ และ
****บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา ๓๑ ให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบและประเมินผล
มาตรา ๓๒ ให้กระทรวงมีองค์กรหลักในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร ได้แก่
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรา ๓๓ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่
*พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ
*นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
*การสนับสนุนทรัพยากร
*การประเมินผลการจัดการศึกษา
*การดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้ง
*การพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง
มาตราที่ ๓๔ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่
*พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๓๕ องค์ประกอบของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๔ ประกอบด้วย กรรมการโดย
ตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน/ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ ผู้แทน
องค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๕๓ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็น
องค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ
ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ
และเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร
ดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตามความเหมาะสม
และความจำเป็น

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา ๖๓ รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการ
ส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูป
มาตรา ๖๔ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือ
ทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น
มาตรา ๖๕ ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา ๖๖ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
*******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น